วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551/หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546



หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551



“หัวใจหลักสูตรแกนกลางการศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน”
    
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ซึ่งหลักสูตรแบบอิงมาตรฐาน (Standards-Based Curricullum)  อาจสรุปเป็นหัวใจ ได้ดังนี้


วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ


หลักการมี 3 ประการดังนี้
             1.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2.  เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
3.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด           การเรียนรู้
5.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
6.  เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์  


จุดหมาย
            มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข   มีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ   ได้กำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน  เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ดังนี้
1.  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา   การใช้เทคโนโลยี  และมีทักษะชีวิต
3.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4.  มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ           การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย   การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   


สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมรวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
              2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น    ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
                4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม


คุณลักษณะอันพึงประสงค์
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ดังนี้
1.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
2.  ซื่อสัตย์สุจริต
3.  มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6.  มุ่งมั่นในการทำงาน
7.  รักความเป็นไทย
8.  มีจิตสาธารณะ


มาตรฐานการเรียนรู้
               การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา ได้กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้
1.      ภาษาไทย
2.    คณิตศาสตร์
3.     วิทยาศาสตร์
4.     สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
5.     สุขศึกษาและพลศึกษา
6.      ศิลปะ
7.     การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8.     ภาษาต่างประเทศ
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้  ปฏิบัติได้  มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม   ที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ


ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น               ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม  นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน
1. ตัวชี้วัดชั้นปี   เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3)           
2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ 4- 6)
หลักสูตรได้มีการกำหนดรหัสกำกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อความเข้าใจและให้สื่อสารตรงกัน ดังนี้
ว 1.1 ป. ½
ป.1/2        ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ข้อที่ 2
1.1            สาระที่ 1  มาตรฐานข้อที่ 1    
ว                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ต 2.2 ม.4-6/ 3
ม.4-6/3      ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ข้อที่ 3
2.3            สาระที่ 2  มาตรฐานข้อที่ 2
ต                 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1.กิจกรรมแนะแนว
2.กิจกรรมนักเรียน
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์




*********************************



หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546








1.  แนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัย    
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546 พัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยแนวคิดต่อไปนี้  (กระทรวงศึกษาธิการ.    2548  :  3-4)  
                1.1  แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก   พัฒนาการของมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวมนุษย์   เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิต   ซึ่งครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  โดยที่พัฒนาการด้านร่ากาย  อารมณ์  จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา  จะมีความสัมพันธ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนไปพร้อมทุกด้านตามวัยและวุฒิภาวะ   เมื่อกล่าวถึงพัฒนาการเด็กปฐมวัยจะบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัย  เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงอายุต่ำกว่า 6 ปี
                พัฒนาการแต่ละด้านมีทฤษฏีเฉพาะอธิบายไว้และสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเด็ก   อาทิ ทฤษฏีพัฒนาการด้านร่างกายที่อธิบายการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กว่าลักษณะต่อเนื่อง  เป็นลำดับขั้น   เด็กจะพัฒนาถึงขั้นใดจะต้องเกิดวุฒิภาวะของความสามารถขั้นนั้นก่อน  หรือทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่อธิบายว่าเด็กเกิดมาพร้อมความสามารถในการเรียนรู้ซึ่งจะพัฒนาขึ้นตามอายุ  ประสบการณ์   ค่านิยมทางสังคม  และสิ่งแวดล้อม  หรือทฤษฏีพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่อธิบายว่า   เด็กจะพัฒนาได้ดีถ้าในแต่ละช่วงอายุเด็กได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ตนพอใจ   ได้รับความรัก   ความอบอุ่นอย่างเพียงพอจากผู้ใกล้ชิด  มีโอกาสช่วยตนเอง  ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและมีอิสระที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ตนอยากรู้รอบๆตนเอง  ดังนั้น   แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการเด็กจึงเสมือนหนึ่งแนวทางให้พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กได้เข้าใจธรรมชาติหรือความสามารถของเด็ก  สามารถอบรมเลี้ยงดูและจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างของแต่ละบุคคลในอันที่จะส่งเสริมให้เด็กพัฒนาได้ตามศักยภาพจนบรรลุผลตามเป้าหมายที่ต้องการได้ชัดเจนขึ้น  การจัดทำหลักสูตรจึงยึดแนวคิดในการให้ความสำคัญกับความสามารถตามวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก  โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางของการจัดการศึกษา  (Child Center)
                1.2  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้     การเรียนรู้ของมนุษย์มีผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับในชีวิตประจำวันการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กขึ้นจากกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง   มีโอกาสคิดริเริ่มตามความต้องการและความสนใจของตนเอง รวมทั้งอยู่ในบรรยากาศที่เป็นอิสระ  อบอุ่น  ปลอดภัย  ดังนั้น  การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ของเด็กให้เป็นไปตามศักยภาพที่มีอยู่นอกจากนี้การเรียนรู้ยังเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในระดับที่สูงขึ้น โดยที่คนเราเรียนรู้มาตั้งแต่เกิดตามธรรมชาติก่อนที่จะเข้ามาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย การจัดทำหลักสูตรจึงยึดแนวคิดที่สนับสนุนให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์จริงด้วยตัวเด็กเอง   ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอิสระ    เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมให้เหมาะกับระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
                1.3   แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก  การเล่นถือเป็นกิจกรรมีที่สำคัญในชีวิตของเด็กทุกคน   เด็กจะรู้สึกมีความสุข   สนุกสนาน   เพลิดเพลิน   ได้สังเกต  สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวมีโอกาสทำการทดลอง  สร้างสรรค์  คิดแก้ปัญหาและค้นพบความเป็นจริงของโลกภายนอกด้วยตนเอง  การเล่นจะมีอิทธิผลและมีผลดีต่อการเจริญเติบโต   ช่วยพัฒนาร่างกาย  อารมณ์   จิตใจ   สังคมและสติปัญญา  ขณะเล่นเด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย  ได้ใช้ประสาทสัมผัสและการรับรู้  ผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียด  แสดงออกถึงความเป็นตนเองและเรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่น  การเล่นจึงเป็นเสมือนสื่อกลางให้เด็กสร้างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว  เรียนรู้ความเป็นอยู่ของผู้อื่น   สร้างความสัมพันธ์อยู่ร่วมกับผู้อื่นและกับธรรมชาติรอบตัว  ดังนั้นการจัดทำหลักสูตรจึงถือว่า “การเล่น” อย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการประสบการณ์ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
                1.4  แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคม    บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่หรือแวดล้อมตัวเด็ก  ทำให้เด็กแต่ละคนเติบโตขึ้นมามีคุณลักษณะที่แตกต่างกันไป  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับนี้ถือว่าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าวัฒนธรรมและสังคมที่แวดล้อมตัวเด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้  การพัฒนาศักยภาพ   และการพัฒนาการของเด็กแต่ละคน  ผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องให้ความสำคัญและเรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิต  ครอบครัว  และชุมชน  ตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเด็กที่ตนรับผิดชอบ  เพื่อช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม    เกิดการเรียนรู้และมีความภูมิใจในสังคม-วัฒนธรรมที่เด็ดอาศัยอยู่และสามารถยอมรับผู้อื่นที่มาจากพื้นฐานเหมือนหรือต่างจากตนได้อย่างราบรื่น  มีความสุข


2.  ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐาน     การอบรมเลี้ยงดู และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ ภายใต้บริบทของสังคม วัฒนธรรม ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม  (กระทรวงศึกษาธิการ.      2548  :  5)  


3.  หลักการของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546
หลักการของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546  มีสาระสำคัญดังนี้  (กระทรวงศึกษาธิการ.    2548  :  6-8)
เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูหรือบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพ บรรลุตามปรัชญาการศึกษาปฐมวัย โดยมีหลักการ ดังนี้


3.1  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัย   ทุกประเภท
3.2  ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตก
ต่างระหว่างบุคคล วิถีชีวิตของเด็กตามบริบทชุมชน สังคม วัฒนธรรมไทย
  3.3  พัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นกิจกรรม และกิจกรรมบูรณาการ สาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย
  3.4  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
  3.5  ประสานความร่วมมือกันระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก


4.  จุดหมายของการศึกษาปฐมวัย
จุดหมายของการศึกษาปฐมวัยมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย  ความสามารถ   และความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งทาง ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เมื่อเด็กจบการศึกษาปฐมวัย  เด็กจะบรรลุมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กําหนดไว้ในจุดหมาย  12  ขอ  และแต่ละช่วงวัยต้องคำนึงถึงคุณลักษณะตามวัยของเด็กด้วย  ซึ่งจะครอบคลุมพัฒนาการทั้ง  4  ด้าน  ดังนี้             
                  4.1         ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
                  4.2         กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
                  4.3         มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข
                  4.4         มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
                  4.5         ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
                  4.6         ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
                  4.7         รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
                  4.8         อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                  4.9         ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
                  4.10       มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
                  4.11       มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
                  4.12       มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้


5.  คุณลักษณะตามวัย
               คุณลักษณะตามวัยเป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการตามธรรมชาติเมื่อเด็กมีอายุถึงวัยนั้นๆ ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจคุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี เพื่อนำไปพิจารณาจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อนำข้อมูลไปช่วยในการพัฒนาเด็กให้เต็มตามความสามารถและศักยภาพ พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุอาจเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการพัฒนาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนต้องพาเด็กไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขได้ทันท่วงที คุณลักษณะตามวัยที่สำคัญของเด็กอายุ 3 – 5  ปี




************************************



ที่มา http://nnusvaheedah53g.blogspot.com/p/2546.html
www.gotoknow.org/posts/234274


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น