วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การนำหลักสูตรไปใช้



การนำหลักสูตรไปใช้



โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164)   ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า  การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึง  การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ  โดยการะบวนการที่สำคัญที่สุด คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน   การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน สิ่งแรกที่ควรทำคือ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน สิ่งที่ควรคำนึงในการนำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้เห็นผลตามเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร ผู้บริหาร ครูใหญ่ต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จ
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 เป็นต้นมาสรุปได้ดังนี้
ประมาณทศวรรษ 1940 และ 1950 มุ่งศึกษาวิจัยสิ่งที่เรียกกันว่า ตัวแปรทำนาย จากคุณสมบัติของครู มีความเชื่อว่าครูที่มีคุณสมบัติมีแนวโน้มที่จะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เสียง รูปร่างหน้าตา
  • ความมั่นคงทางอารมณ์
  • ความน่าเชื่อถือ
  • ความอบอุ่น
  • ความกระตือรือร้น
ประมาณทศวรรษ 1960 และ 1970 การวิจัยความมีประสิทธิภาพของครู ได้ข้อสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision) เทคนิควิธีการสังเกตการสอนชั้นเรียน
ต่อมาใน ทศวรรษ 1980 เมเดอลีน ฮันเตอร์ (Madeline Hunter) และขณะมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอใช้หลักทฤษฎีเป็นฐานในการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้
  • การสอนมีรากฐานมากจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม
  • การอนุมานจากแนวคิดในด้านการเรียนรู้ เช่น
  • แรงจูงใจ (Motivation) ความทรงจำ (Retention)
  • การถ่ายโอนความรู้ (Transfer)
และในช่วง ทศวรรษ 1980 และ 1990 การเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา (Cognitive Learning Theory) สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอนจึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้


หลักการที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
จากเอกสารการประชุมของประเทศต่างๆ ในเอเชีย (APEID 1977:29) ในการประชุมทบทวนประสบการณ์ต่างๆ ของประเทศในเอเชีย เรื่อง ยุทธศาสตร์การนำหลักสูตรไปใช้ได้สรุปเป็นหลักการสำคัญดังนี้
1. วางแผนและเตรียมการนำหลักสูตรไปใช้โดยให้คนหลายกลุ่มเข้าร่วมแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนและจัดเตรียมทรพยากร (มนุษย์และวัสดุ) ให้พร้อม
2. จัดให้มีหน่วยงานส่งเสริมการนำหลักสูตรไปใช้ให้ไปเป็นได้สะดวกและรวดเร็ว
3. กำหนดวิถีทางและกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นขั้นตอน รวมเหตุผลต่างๆที่จะใช้ในการจูงใจครูและติดตามผลการปฏิบัติงาน


วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521: 140-141) ได้ให้ความเห็นว่า ผู้มีบทบาทในการนำหลักสูตรไปใช้ให้บรรลุจุดหมายมี 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร ครูประจำชั้น และชุมชน ในจำนวนนี้ครูใหญ่เป็นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดที่จะต้องศึกษาและวงาแผนเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรโดยมีขั้นตอนสรุปสั้งๆได้ดังนี้
1. เตรียมวางแผนงาน
2. เตรียมจัดอบรม
3. การจัดครูเข้าสอน
4. การจัดตารางสอน
5. การจัดวัสดุประกอบหลักสูตร
6. การประชาสัมพันธ์
7. การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตร
8. การจัดโครงการประเมินผล

ที่มา: สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น